นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ได้โพสต์บนเฟซบุ๊กส่วนตัว Surapol Opasatien ลงไว้เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 66 ที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นข้อมูลเตือนภัยของคนเป็นหนี้ โดยเฉพาะหนี้รถยนต์ ระบุว่า “ข้อมูลสถิติที่ทำขึ้นมาเพื่อเป็นสัญญานเตือนภัยในหลายปีมานี้ เริ่มมีผู้คนให้ความสนใจมากขึ้น เรื่องหนี้ชาวบ้าน มีผู้ใหญ่กล่าวว่า มันไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจพังแต่มันทำให้เศรษฐกิจหงอย ซึม แต่ถ้ามันไปทำให้ระบบสถาบันการเงินเสียหาย อันนั้นแหละ จะเป็นเรื่องความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะพัง”คำพูดจาก ฟรี เกมสล็อตทดลองเล่น
กลับมาดูตัวเลขกันครับ หนี้รถยนต์ในระบบเครดิตบูโรยอดรวม 2.6 ล้านล้านบาท ในไตรมาสที่ 1 มีสัญญาใหม่ที่ได้รับอนุมัติประมาณ 3.5 แสนบัญชี 53% เป็นคนเจน Y ขนาดของวงเงินที่ได้รับอนุมัติช่วง 5 แสนบาท ถึง 2 ล้านบาท คิดเป็น 67%คำพูดจาก ทดลองสล็อต ใหม่ล่าสุด
นายสุรพล ชวนดูเส้นกราฟในภาพตรงกลาง สีแดงคือหนี้เสียค้างเกิน 90 วัน ตอนนี้มาอยู่แถว 7% ของยอดหนี้ 2.6 ล้านล้านบาท และเส้นสีเหลืองที่พุ่งขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มาจนถึงปัจจุบันไตรมาสที่ 1 ปี 2566 คือหนี้ที่ค้าง 1, 2 หรือ 3 งวดแต่ยังไม่เป็นหนี้เสีย ไปๆ มาๆ เรียกกันตามภาษาสินเชื่อคือเลี้ยงงวดกันอยู่ ตรงนี้แหละที่มีความเป็นห่วงกันว่า 1.9 แสนล้านบาท ที่กลับไม่ได้ไปไม่ถึง จะไหลไปเป็นหนี้เสียเท่าใด ค่างวดที่ต้องส่งต่อเดือนเทียบกับรายได้แต่ละเดือนยังไหวมั้ย
ภาพด้านล่างคือการเอาข้อมูลจำนวนบัญชีและจำนวนเงินที่เป็นหนี้มีปัญหามาแยกดูในแต่ละช่วงเวลาและยังแยกตามอาการว่า คนเจนไหนเป็นเจ้าของบัญชีที่เริ่มตั้งแต่ค้าง 1, 2, 3 และเกิน 3 งวดตามสีนะครับ เหลือง ส้ม แดง เราจะพบว่าแท่งกราฟมันยกตัวขึ้นเพราะกลุ่มสีเหลืองมันยกตัวขึ้น สีเหลืองคือค้างชำระ 31-60 วันครับ และมันยกตรงกลุ่มเจน Y ค่อนข้างชัด
มันจึงไม่แปลกที่จะมีข่าวออกมาว่า สินเชื่อรถยนต์ปล่อยกู้ยาก คนได้รับสินเชื่อยาก ปฏิเสธสินเชื่อเยอะ จนกระทบกับคนที่ขายรถยนต์ เพราะบ้านเรามันกู้เงินมาซื้อกันมากกว่าซื้อสด
“ในอนาคตเราคงจะได้เห็น หนี้เสียจากรถยนต์ที่รักโลก รักสิ่งแวดล้อมมากขึ้นแน่ๆ จองๆ กันเยอะ ยังไงก็ช่วยวางแผนผ่อนจ่ายให้ดีด้วยนะครับ อย่าคิดแค่เอาส่วนที่ประหยัดค่าน้ำมันมาจ่ายค่างวดนะครับ… คิดเยอะๆ นะครับ”
ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร ได้ทิ้งท้ายไว้ว่า “ข้อมูลจากการบรรยายให้กับสมาชิกเครดิตบูโรให้ทราบ ให้ระวังการพิจารณา ให้เป็นข้อมูลในการบริหารและจัดการความเสี่ยง”
(ที่มา : Facebook ของ Surapol Opasatien)