นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช.ได้รายงานภาวะสังคมไตรมาสแรกปี 65 พบว่า สถานการณ์ด้านตลาดแรงงานมีแนวโน้มดีขึ้น โดยมีผู้มีงานทำ 38.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 3% เป็นแรงงานภาคเกษตร 11.4 ล้านคน นอกเกษตร 27.3 ล้านคน ชั่วโมงการทำงานปรับดีขึ้นมีคนทำงาน 40.8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และเอกชน 43.8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้นแต่ยังต่ำกว่าก่อนโควิด โดยมีคนทำงานล่วงเวลา 5.7 ล้านคน จากช่วงเวลาปกติ 6-7 ล้านคน ซึ่งไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนักเมื่อเทียบปีก่อน
ทั้งนี้การว่างงานปรับตัวดีขึ้น โดยผู้ว่างงานทั้งสิ้น 6.1 แสนคน ลดลงจาก 7.6 แสนคนในช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงจาก 6.3 แสนคนในไตรมาสก่อนหน้า หรือคิดเป็น 1.53% ต่ำที่สุดในช่วงโควิด-19 เช่นเดียวกับการว่างงานในระบบที่ลดลงต่อเนื่อง โดยผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนยังคงเพิ่มขึ้น โดยมี 2.6 แสนคน เพิ่มสูงขึ้น 5.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สวนทางกับผู้ว่างงานที่มีประสบการณ์ทำงานที่เริ่มปรับตัวลดลงคำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต
นอกจากนี้ผู้ว่างงานระยะยาวยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยมีจำนวนถึง 1.7 แสนคน และการว่างงานในกลุ่มแรงงานที่จบการศึกษาสูงยังอยู่ในระดับสูง โดยอัตราการว่างงานของผู้จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาอยู่ที่ 3.1% หรือ 2.25 แสนคน เพราะอาจเกิดจากความผิดพลาดตำแหน่งงาน สาขางานที่ไม่สอดคล้องกับตลาด โดยอาจมีมาตรการเพิ่มทักษะ ปรับทักษะให้เด็กจบใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น
สำหรับการติดตามหลังจากนี้ ทั้งภาคการท่องเที่ยว แม้จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเริ่มฟื้นตัว แต่ฐานรายได้กับรายจ่ายไม่สอดคล้องกัน ผลกระทบเงินเฟ้อและราคาสินค้า ผลกระทบค่าครองชีพ ทำให้กระทบกับแรงงาน ซึ่งส่วนนี้รัฐบาลมีมาตรการระยะสั้น ทั้งเพิ่มสิทธิประโยชน์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพิ่มเงินพิเศษคนสูงอายุ และเรื่องลดการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม มีส่วนให้แรงงานมีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้นเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวันคำพูดจาก ทดลองสล็อต pg
นายดนุชา กล่าวว่า หนี้ครัวเรือนไตรมาส 4 ของปี 64 มีสัดส่วน 90.1% เพิ่มขึ้น 3.9% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ถ้าดูโครงสร้างหนี้ครัวเรือน เป็นหนี้เพิ่ออสังหาริมทรัพย์ หนี้ยานยนต์ หนี้อุปโภคบริโภค และหนี้ประกอบธุรกิจรายย่อย โดยคุณภาพหนี้ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะความสามารถชำระหนี้อุปโภคบริโภคทำให้เอ็นพีแอลลดลงเหลือ 2.73% แต่ต้องติดตามสินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษ หรือมียอดค้างชำระไม่เกิน 3 เดือนในสินเชื่อรถยนต์ ที่สูงถึง 11.08% มีมูลค่า 1.3 แสนล้านบาท ต้องจับตาเป็นพิเศษไม่ให้กลายเป็นเอ็นพีแอลในระยะต่อไป
“ครัวเรือนมีปัญหาความสามารถชำระหนี้ เกิดจากโควิด 2 ปีที่ผ่านมา ครัวเรือนมีฐานะการเงินเปราะบาง รายได้ครัวเรือนไม่ฟื้นตัว การออมลดลง นั่นคือเอาเงินออมมาใช้บางส่วน หนี้สินขยายตัวสูงกว่ารายได้ และกระทบจากภาระค่าครองชีพสูงขึ้น ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารพาณิชย์ ได้ดูแลต่อเนื่อง เช่น ปรับโครงสร้างหนี้ ทางด่วนแก้หนี้ คลินิกแก้หนี้ โดยมีปรับโครงสร้างหนี้แล้ว 4.2 ล้านบัญชี ยอดสินเชื่อ 1.55 ล้านล้านบาท ส่วนคลินิกแก้หนี้ ในเดือน มี.ค.เดือนเดียว มีมากถึง 8 หมื่นบัญชี ซึ่งต้องดำเนินการต่อเนื่องเพื่อแก้หนี้ครัวเรือน”